เมนู

เพราะต้านทานได้ดี และเพราะมีส่วนเปรียบ
ด้วยเส้นด้ายบรรทัด ฉะนั้น.


อภิธรรมมีอรรถ 5 อย่าง



ส่วนพระอภิธรรม บัณฑิตกล่าวว่า พระอภิธรรม เพราะเหตุที่ใน
อภิธรรมปิฎกนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสธรรมที่มีความเจริญ 1 ที่ควรกำหนด 1
ที่ควรบูชา 1 ที่กำหนดไว้ 1 และเป็นที่ยิ่ง 1.
จริงอยู่ อภิศัพท์นี้ ใช้ในความหมายว่าเจริญ ควรกำหนด ควรบูชา
ที่กำหนดไว้ และที่ยิ่ง. จริงอย่างนั้น อภิศัพท์นี้ ใช้ในคำว่าเจริญ ในประโยค
มีอาทิว่า ดูก่อนท่านผู้มีอายุ ทุกขเวทนาหนัก ย่อมเจริญ (กำเริบ) แก่กระผม
มิได้ลดลง ดังนี้. ใช้ในความหมายถึงควรกำหนด ในประโยคมีอาทิว่า ราตรี
เหล่านั้นใด ท่านกำหนดรู้แล้ว กำหนดหมายไว้แล้ว ดังนี้. ใช้ในความหมาย
ถึงควรบูชา ในประโยคมีอาทิว่า พระราชาที่พระราชาทรงบูชา เป็นจอมมนุษย์
ดังนี้. ใช้ในความหมายถึงกำหนดไว้ ในประโยคมีอาทิว่า ปฏิพโล วิเนตุํ
อภิธมฺเม อภิวินเย
แปลว่า เป็นผู้สามารถเพื่อแนะนำในธรรมที่กำหนดไว้
ในวินัยที่กำหนดไว้ ดังนี้. อธิบายว่า ในธรรมและวินัยที่เว้น จากการปะปนกัน.
ใช้ในความหมายว่ายิ่ง (อธิกะ) ในประโยคมีอาทิว่า มีวรรณะอันงามยิ่ง ดังนี้.
อนึ่ง ในพระอภิธรรมนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสธรรมทั้งหลายที่มี
ความเจริญ โดยนัยเป็นต้นว่า ภิกษุย่อมเจริญมรรคเพื่อเข้าถึงรูปภพ มีจิต
ประกอบด้วยเมตตาแผ่ไปสู่ทิศหนึ่งอยู่ ดังนี้ก็มี ตรัสธรรมทั้งหลายที่ควร
กำหนด เพราะความเป็นธรรมที่ควรกำหนดด้วยอารมณ์ทั้งหลายโดยนัยเป็นต้น
ว่า เป็นรูปารมณ์ หรือ สัททารมณ์ ดังนี้ก็มี ตรัสธรรมทั้งหลายที่น่าบูชา

โดยนัยเป็นต้นว่า เสกขธรรม อเสกขธรรม โลกุตรธรรม ดังนี้ก็มี ท่าน
อธิบายว่า ธรรมที่ควรบูชา ตรัสธรรมทั้งหลายที่ทรงกำหนดไว้ เพราะเป็น
ธรรมที่กำหนดโดยสภาวะ โดยนัยเป็นต้นว่า ผัสสะย่อมมี เวทนาย่อมมี
ดังนี้ก็มี และตรัสธรรมทั้งหลายอันยิ่ง โดยนัยเป็นต้นว่า มหัคคตธรรม
อัปปมาณธรรม อนุตรธรรม ดังนี้ก็มี ด้วยเหตุนั้น เพื่อความฉลาดใน
อรรถแห่งการกล่าวถึงพระอภิธรรมนี้ ท่านจึงประพันธ์คาถาไว้ว่า
ยํ เอตฺถ วุฑฺฒิมนฺโต สลกฺขณา ปูชิตา ปริจฺฉินฺนา
วุตฺตาธิกา จ ธมฺมา อภิธมฺโม เตน อกฺขาโต
พระอภิธรรม บัณฑิตกล่าวว่า พระ-
อภิธรรม เพราะเหตุที่พระอภิธรรมนี้ พระ-
ผู้มีพระภาคเจ้าตรัสถึงธรรมที่เจริญ 1 ธรรม
ที่ควรกำหนด ธรรมที่ควรบูชา 1 ธรรม
กำหนด (แยก) ไว้ 1 และธรรมที่ยิ่ง 1.


ว่าด้วยความหมายที่ไม่ต่างกันของปิฎก



อนึ่ง ในปิฎกทั้ง 3 นี้ บัณฑิตผู้รู้อรรถแห่งปิฎกศัพท์กล่าวว่า คำว่า
ปิฎก ที่ไม่แตกต่างกันนั้นว่า ชื่อว่า ปิฎก เพราะอรรถว่าเป็น ปริยัติ และ
ภาชนะ (เครื่องรองรับ) บัดนี้ พึงประมวลปิฎกศัพท์นั้นเข้าด้วยกันแล้ว
ทราบปิฎกแม้ทั้ง 3 มีวินัยเป็นต้น.
จริงอยู่ แม้ปริยัติ ท่านก็เรียกว่า ปิฎก (ตำรา) เหมือนใน
ประโยคมีอาทิว่า มา ปิฏกสมฺปทาเนน อย่าเชื่อโดยอ้างตำรา แม้
ภาชนะอย่างใดอย่างหนึ่ง ก็เรียกว่า ปิฎก เหมือนในประโยคมีอาทิว่า